
โครงสร้างไวยากรณ์รูปอดีตกาล
Past simple tense หรืออดีตกาล เป็นโครงสร้างประโยคที่เราใช้เล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอดีต ที่สิ้นสุดไปแล้ว หรือกิจกรรมที่เราเคยทำเป็นนิสัย แต่ว่าเลิกทำไปแล้ว
โดยปกติแล้ว การเขียนประโยคในรูปอดีตจะง่ายมาก เพราะเราสามารถเติม -ed ท้ายคำกริยาได้เลย
เช่น Donald placed my laptop on his desk.
Jina’s dog ripped her shirt apart.
He fixed the broken car in his garage.
They claimed our reports to be theirs.

ถ้าสังเกตดี ๆ จะเห็นว่ากฎของการเติม -ed ที่กริยา เพื่อให้เป็นรูปอดีตนั้นค่อนข้างซับซ้อนเพราะมันมี
ข้อยกเว้น
1. เติมตัวสะกดตัวสุดท้ายเพิ่มอีกหนึ่งตัว ก่อนเติม -ed
อย่างในคำว่า rip-ripped เราจะต้องเพิ่มตัว p ก่อนที่เราจะเติม -ed เนื่องจากเป็นคำกริยาที่มีพยัญชนะ สระเสียงสั้น และตัวสะกด รวมเป็น 3 ตัว
ซึ่งกฎนี้ยังใช้กับคำที่มีพยัญชนะเป็นอักษรควบด้วย เช่น skip-skipped, ship-shipped
2. ถ้ากริยาคำนั้นลงท้ายด้วย y จะต้องเปลี่ยน y เป็น i ก่อนแล้วเติม ed
เช่น try-tried, dry-dried, carry-carried เป็นต้น
3. กริยาที่ลงท้ายด้วยตัว e อยู่แล้ว เราจะเติมแค่ตัว d แทนการเติมทั้ง -ed
เช่น agree-agreed, divide-divided, provide-provided
นอกจากที่เราจะเติม -ed หลังคำกริยาตามปกติ เพื่อให้คำกริยาเป็นรูปอดีตแล้ว ในภาษาอังกฤษยังมีกริยาบางตัวที่ต้องเปลี่ยนรูปไปเลยเมื่อเป็นรูปอดีต ที่เรียกว่า Irregular verb ซึ่งเราอาจจะต้องท่องจำเพื่อให้ใช้ได้อย่างถูกต้อง
ลองจำทริกของไวยากรณ์นี้ไปลองใช้กันดูในชีวิตประจำวันนะคะ
-------------------------------------------------------------------
หากใครสนใจเรียนภาษาอังกฤษกับครูจิ๊บออนไลน์ ทั้งเรียนพูด อ่านหรือเขียน เพื่อเตรียมสอบ #TOEFL #TOEIC #IELTS #ONET #GAT
สามารถติดต่อครูจิ๊บได้ที่เบอร์ 083-234-8768
www.facebook.com/lbecenter
Comentários